สมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 พิมพ์เส้นด้าย รองแชมป์ กรมเสมียนตรา
เจ้าของ ปิดทอง เดิมๆ ครับ
งานประกวดพระ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (โซนบี) แจ้งวัฒนะ จัดโดย กรมเสมียนตรา
8 พ.ค.2559
ประวัติการจัดสร้าง สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2509 วัดใหม่อมตรส
ผู้สร้าง
รายนามพระเถรานะเถระ พระคณาจารย์ ที่นั่งร่วมนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกประกอบด้วย
1. ท่านเจ้าประคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ ฯ
2. ท่านเจ้าประคุณพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
3. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามาง่าม นครปฐม
4. ท่านพระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
5. ท่านเจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
6. ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ) วัดช้างให้ ปัตตานี
7. ท่านอาจารย์ อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
8 . ท่านอาจารย์สาธิต วัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ
9. ท่านอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี พระสวดพุธาภิเสกจากวัดสุทัศน์ฯ มีพระครูปลัดวิสุทธิวัตร เป็นหัวหน้า
ศิลปสกุลช่าง
ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ พอแบ่งได้ 4 ผีมือช่างคือ
1.ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี มีด้วยกันหลายพิมพ์ ลักษณะจะคลายพิมพ์มาตรฐานของวัดแต่จะแตกต่างออกไปบ้างเป็นเอกลักษณ์ เช่น องค์ค่อนข้างผอม รวมไปถึงพิมพ์พิเศษบางพิมพ์
2. มานิตย์ ปฐพี(สมัยนั้นมียศเป็นจ่าทหารเรือ ) รับผิดชอบแกะแม่พิมพ์บล็อกวัดตามพิมพ์มาตรฐานที่พบในการเปิดกรุ รวมไปถึงพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
3. ช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะจะมีความสวยงามคมชัดลึกมากเป็นพิเศษ
4.บล็อกกรรมการ หมายถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้ามาช่วยในการสร้างพระบางขุนพรหมปี 09 และมีพระกรุบางขุนพรหมอยู่ในครอบครองจึงนำมาถอดแม่พิมพ์ ทำเป็นบล็อกแม่พิมพ์ในการกดพิมพ์พระ ซึ่งพระบล็อกนี้โครงสร้างของพิมพ์ทรงจะคล้ายและใกล้เคียงกับพระกรุบางขุนพรหม มากเพียงแต่ขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งตื้นกว่า ด้วยสาเหตุการถอดพิมพ์มานั้นเอง
อายุการสร้าง
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ทำพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ตลอดจนถึงงานผูกพัทธสีมา หล่อพระพุทธรูป หล่อพระรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต) และสร้างพระพิมพ์ผง (พระเครื่อง) อันมีกำหนดงานวันที่ 4-10 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งเป็นปีที่สำเร็จเสร็จสิ้นในการสร้างพระอุโบสถ ดังเช่นที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน และนั้นถือเป็นจุดกำเนิดพระพิมพ์เนื้อผงจำนวน 12 พิมพ์ ที่มีชื่อเรียกว่า พระบางขุนพรหม ปี พ.ศ. 2509 หรือพระบางขุนพรหม 09 โดยมี พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย คุณหญิงไสว จารุเสถียร เป็นประธานให้การอุปถัมภ์ พล. ท. กฤษณ์สีวะรา เป็นประธานจัดงานผูกพันธสีมา กำลังสำคัญในการดำเนินงานจนสำเร็จลุล่วงไปเป็นอย่างดี คือพระครูบริหารคุณวัตร (ชม) ขณะนั้นเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส และ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เป็นเจ้าอาวาส สรุปใจความสำคัญของานในครั้งนั้นคือ
วันอังคารที่ 4 มกราคม พ. ศ . 2509 เวลา 15.55 น. พล. อ. ประภาส จารุเสถียร จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พล .ท. กฤษณ์ สีวะรา อ่านรายงานและประธานกล่าวตอบ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เวลา 20.27 น. พระสงฆ์ 4 รูป เริ่มสวดพุทธาภิเษกพระคณาจารย์นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก
วันพุธที่ 5 มกราคม พ .ศ. 2509 ทำการแจกสมนาคุณ พระรูปฯ และพระพิมพ์ให้ประชาชนร่วมบูชาทำบุญ ทั้งนำบรรจุกรุ และนำบูชาติดตัวกลับบ้าน
วันพฤหัสบดี ที่ 6 วันศุกร์ ที่ 7 วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ .ศ. 2509 บำเพ็ญกุศลปิดทองลูกนิมิต พร้อมทั้งให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคบูชาพระพิมพ์
วันอาทิตย์ ที่ 9 มกราคม พ .ศ. 2509
เวลา 16.40 น. อันเชิญศิลาจารึกพระปรมาภิไธย และพระฤกษ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประดิษฐาน ณ พระอุโบสถแล้วประกอบประกอบพิธีเททอง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตัก 16 นิ้ว จำนวน1 องค์ รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว จำนวน 1 องค์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว จำนวน 109 องค์
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ . ศ. 2509
เวลา 19.30 น. พระสงฆ์ 84 รูป เจริญพระพุทธมนภายในพระอุโบสถ
เวลา 21.01 น. สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพล ประกอบพิธีผูกพันธสีมา
สำหรับรูปเหมือนเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานภายในซุ้ม ข้างพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุกรุพระบางขุนพรหม 09 กึ่งกลางระหว่างพระเจดีย์ และพระอุโบสถ พร้อมกันนั้นภายในซุ้มดังกล่าวยังประดิษฐาน แผ่นศิลาจารึกพระประมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 และพระฤกษ์ (ทรงเจิมให้เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ . ศ. 2508 เวลา10.30 น. ณ พระตำหนักจิตรลดาโหฐาน)
องค์ประกอบพระ
การสร้างพระบางขุนพรหม ปี พ . ศ. 2509พระพิมพ์เนื้อผงต่างๆ เหล่านี้มีการจัดสร้างและเตรียมการมาก่อน คือเริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนตุลาคม มาแล้วเสร็จเอาเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน พ .ศ. 2508 ทำพิธีการสร้างตำผง กดพิมพ์พระกันภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อชม เป็นผู้กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นคณะกรรมการต่างๆ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำจนสำเร็จในที่สุด
ลักษณะวรรณะพระ
ลักษณะการสร้าง แบ่งเป็น 2 ชนิดประเภทคือ
1. ประเภทให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุในพระเจดีย์ ให้ทำบุญองค์ละ 1 บาทด้านหลังจะปั๊มคำว่า บรรจุ จำนวนรวมกันทั้งหมดทุกพิมพ์ 84,000 องค์
2.ประเภทให้บูชาทำบุญและนำติดตัวกลับบ้าน ให้ทำบุญองค์ละ 10 องค์ ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ทำบุญองค์ละ 25 บาท รวมไปถึงทำบุญเป็นกล่องชุด 11 พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ) ทำบุญุชุดละ 100 บาท ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ ซึ่งจำนวนการสร้างพระในประเภทนี้มีทั้งหมด84,000 บาท องค์เช่นกันเพียงแต่ภายหลังคัดพระที่ชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ออกจึงเหลือเพียงประมาณ 72,518 องค์ เนื้อหามวลสาร มวลสารหลักของพระขุนพรหม ปี 09 คือ ชิ้นส่วนพระชำรุดแตกหักดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ . ศ . 2500 ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆรวมไปถึง ปูนขาว ปูนเปลือกหอย นำมันตัวอิ๊วน้ำผึงเกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล และ ฯลฯ
เจ้าของ ปิดทอง เดิมๆ ครับ
งานประกวดพระ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (โซนบี) แจ้งวัฒนะ จัดโดย กรมเสมียนตรา
8 พ.ค.2559
ประวัติการจัดสร้าง สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2509 วัดใหม่อมตรส
ผู้สร้าง
รายนามพระเถรานะเถระ พระคณาจารย์ ที่นั่งร่วมนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกประกอบด้วย
1. ท่านเจ้าประคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ ฯ
2. ท่านเจ้าประคุณพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
3. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามาง่าม นครปฐม
4. ท่านพระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
5. ท่านเจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
6. ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ) วัดช้างให้ ปัตตานี
7. ท่านอาจารย์ อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
8 . ท่านอาจารย์สาธิต วัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ
9. ท่านอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี พระสวดพุธาภิเสกจากวัดสุทัศน์ฯ มีพระครูปลัดวิสุทธิวัตร เป็นหัวหน้า
ศิลปสกุลช่าง
ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ พอแบ่งได้ 4 ผีมือช่างคือ
1.ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี มีด้วยกันหลายพิมพ์ ลักษณะจะคลายพิมพ์มาตรฐานของวัดแต่จะแตกต่างออกไปบ้างเป็นเอกลักษณ์ เช่น องค์ค่อนข้างผอม รวมไปถึงพิมพ์พิเศษบางพิมพ์
2. มานิตย์ ปฐพี(สมัยนั้นมียศเป็นจ่าทหารเรือ ) รับผิดชอบแกะแม่พิมพ์บล็อกวัดตามพิมพ์มาตรฐานที่พบในการเปิดกรุ รวมไปถึงพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
3. ช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะจะมีความสวยงามคมชัดลึกมากเป็นพิเศษ
4.บล็อกกรรมการ หมายถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้ามาช่วยในการสร้างพระบางขุนพรหมปี 09 และมีพระกรุบางขุนพรหมอยู่ในครอบครองจึงนำมาถอดแม่พิมพ์ ทำเป็นบล็อกแม่พิมพ์ในการกดพิมพ์พระ ซึ่งพระบล็อกนี้โครงสร้างของพิมพ์ทรงจะคล้ายและใกล้เคียงกับพระกรุบางขุนพรหม มากเพียงแต่ขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งตื้นกว่า ด้วยสาเหตุการถอดพิมพ์มานั้นเอง
อายุการสร้าง
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ทำพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ตลอดจนถึงงานผูกพัทธสีมา หล่อพระพุทธรูป หล่อพระรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต) และสร้างพระพิมพ์ผง (พระเครื่อง) อันมีกำหนดงานวันที่ 4-10 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งเป็นปีที่สำเร็จเสร็จสิ้นในการสร้างพระอุโบสถ ดังเช่นที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน และนั้นถือเป็นจุดกำเนิดพระพิมพ์เนื้อผงจำนวน 12 พิมพ์ ที่มีชื่อเรียกว่า พระบางขุนพรหม ปี พ.ศ. 2509 หรือพระบางขุนพรหม 09 โดยมี พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย คุณหญิงไสว จารุเสถียร เป็นประธานให้การอุปถัมภ์ พล. ท. กฤษณ์สีวะรา เป็นประธานจัดงานผูกพันธสีมา กำลังสำคัญในการดำเนินงานจนสำเร็จลุล่วงไปเป็นอย่างดี คือพระครูบริหารคุณวัตร (ชม) ขณะนั้นเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส และ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เป็นเจ้าอาวาส สรุปใจความสำคัญของานในครั้งนั้นคือ
วันอังคารที่ 4 มกราคม พ. ศ . 2509 เวลา 15.55 น. พล. อ. ประภาส จารุเสถียร จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พล .ท. กฤษณ์ สีวะรา อ่านรายงานและประธานกล่าวตอบ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เวลา 20.27 น. พระสงฆ์ 4 รูป เริ่มสวดพุทธาภิเษกพระคณาจารย์นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก
วันพุธที่ 5 มกราคม พ .ศ. 2509 ทำการแจกสมนาคุณ พระรูปฯ และพระพิมพ์ให้ประชาชนร่วมบูชาทำบุญ ทั้งนำบรรจุกรุ และนำบูชาติดตัวกลับบ้าน
วันพฤหัสบดี ที่ 6 วันศุกร์ ที่ 7 วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ .ศ. 2509 บำเพ็ญกุศลปิดทองลูกนิมิต พร้อมทั้งให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคบูชาพระพิมพ์
วันอาทิตย์ ที่ 9 มกราคม พ .ศ. 2509
เวลา 16.40 น. อันเชิญศิลาจารึกพระปรมาภิไธย และพระฤกษ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประดิษฐาน ณ พระอุโบสถแล้วประกอบประกอบพิธีเททอง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตัก 16 นิ้ว จำนวน1 องค์ รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว จำนวน 1 องค์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว จำนวน 109 องค์
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ . ศ. 2509
เวลา 19.30 น. พระสงฆ์ 84 รูป เจริญพระพุทธมนภายในพระอุโบสถ
เวลา 21.01 น. สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพล ประกอบพิธีผูกพันธสีมา
สำหรับรูปเหมือนเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานภายในซุ้ม ข้างพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุกรุพระบางขุนพรหม 09 กึ่งกลางระหว่างพระเจดีย์ และพระอุโบสถ พร้อมกันนั้นภายในซุ้มดังกล่าวยังประดิษฐาน แผ่นศิลาจารึกพระประมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 และพระฤกษ์ (ทรงเจิมให้เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ . ศ. 2508 เวลา10.30 น. ณ พระตำหนักจิตรลดาโหฐาน)
องค์ประกอบพระ
การสร้างพระบางขุนพรหม ปี พ . ศ. 2509พระพิมพ์เนื้อผงต่างๆ เหล่านี้มีการจัดสร้างและเตรียมการมาก่อน คือเริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนตุลาคม มาแล้วเสร็จเอาเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน พ .ศ. 2508 ทำพิธีการสร้างตำผง กดพิมพ์พระกันภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อชม เป็นผู้กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นคณะกรรมการต่างๆ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำจนสำเร็จในที่สุด
ลักษณะวรรณะพระ
ลักษณะการสร้าง แบ่งเป็น 2 ชนิดประเภทคือ
1. ประเภทให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุในพระเจดีย์ ให้ทำบุญองค์ละ 1 บาทด้านหลังจะปั๊มคำว่า บรรจุ จำนวนรวมกันทั้งหมดทุกพิมพ์ 84,000 องค์
2.ประเภทให้บูชาทำบุญและนำติดตัวกลับบ้าน ให้ทำบุญองค์ละ 10 องค์ ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ทำบุญองค์ละ 25 บาท รวมไปถึงทำบุญเป็นกล่องชุด 11 พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ) ทำบุญุชุดละ 100 บาท ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ ซึ่งจำนวนการสร้างพระในประเภทนี้มีทั้งหมด84,000 บาท องค์เช่นกันเพียงแต่ภายหลังคัดพระที่ชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ออกจึงเหลือเพียงประมาณ 72,518 องค์ เนื้อหามวลสาร มวลสารหลักของพระขุนพรหม ปี 09 คือ ชิ้นส่วนพระชำรุดแตกหักดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ . ศ . 2500 ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆรวมไปถึง ปูนขาว ปูนเปลือกหอย นำมันตัวอิ๊วน้ำผึงเกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล และ ฯลฯ