พระภูธร

สมัครสมาชิกใหม่ สมัครแล้ว ยัง log in ไม่ได้ ภายใน 3 วัน / สมาชิกเก่า ลืม รหัส เข้า / เคยสมัครแล้ว ยังไม่ได้ log in / ติดต่อ พระภูธร ได้เลยครับ ///// หากท่านส่งหลักฐาน ตอนสมัคร ไม่ได้ ให้ติ๊กตรง ส่งมาทางไลน์ แล้ว add line พระภูธร ส่งหลักฐานมาทาง ไลน์ ได้เลยนะ ครับ

อาณาจักรพระแท้

กรุงเทพและปริมณฑล

พระภูธร

เรายินดีและพร้อมบริการทุกๆท่านด้วย \" ความซื่อสัตย์ จริงใจต่อลูกค้า และรับประกันพระแท้ทุกองค์ \"

-- คติประจำร้าน --

การรับประกันพระแท้และความปลอดภัย

พระภูธร พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ใหญ่ กรุท้ายย่าน เนื้อดิน จ.ชัยนาท พิมพ์นิยม

#87

พระภูธร
หมวดพระเครื่อง : พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ชื่อพระเครื่อง : พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ใหญ่ กรุท้ายย่าน เนื้อดิน จ.ชัยนาท พิมพ์นิยม
รายละเอียดพระเครื่อง : พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ใหญ่ กรุท้ายย่าน เนื้อดิน จ.ชัยนาท พิมพ์นิยม เป็นพระศิลปะสกุลช่างอู่ทอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปรากฏมีการแตกกรุออกมาหลายกรุทั้งกรุวัดท้ายย่าน วัดบรมธาตุ วัดส่องคบ วัดมหาธาตุ กรุเขื่อนชลประทาน ฯลฯ ส่วนเนื้อขององค์พระที่พบจะมีทั้งพระเนื้อดินและเนื้อชิน ทั้งดินหยาบ ดินละเอียด ชินเงิน และชินตะกั่ว (ชินสนิมแดง) สำหรับองค์นี้สภาพสวยสมบูรณ์มาก เป็นพระดูง่ายสบายตา นับวันจะหาพระสภาพฟอร์มนี้ได้ยากแล้ว พระได้ถูกเก็บรักษาไว้ในสภาพดี อีกทั้งพุทธคุณสูงส่งยิ่งครบถ้วนทั้งในด้าน เมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุด คงกระพันชาตรี มีประสบการณ์และความเข้มขลังเป็นที่เลื่องลือมานานอย่างมากมาย โดยเฉพาะท่านที่ทำการค้าจะช่วยให้ท่านค้าขายคล่องมีกำไร หากเป็นข้าราชการก็จะช่วยให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่เป็นที่ไว้วางใจของเจ้านาย โดยเฉพาะท่านที่มีอาชีพต้องเสี่ยงภัยอันตรายอยู่เสมอ สมควรบูชาพระสรรค์ติดตัวไว้จะได้คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างแก่ท่านได้ ด้วยประสบการณ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เลื่องลือมานานดังกล่าว ผู้ที่มีไว้ครอบครองต่างห่วงแหนเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ทำให้พระแท้ๆพิมพ์นี้เริ่มหายากขึ้นแล้ว เป็นพระที่นิยมกันมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ต้องการของนักสะสมพระเครื่องรุ่นอาวุโสมานานแล้ว ทำให้ราคาเริ่มขยับขึ้นมาเรื่อยๆ หากท่านชอบพระพิมพ์นี้รีบตัดสินใจได้เลยครับ รับรองไม่ผิดหวัง รับประกันพระแท้ เก๊คืนเงินเต็ม 100% จัดส่งทาง EMS ฟรี

ติดต่อ : ภาสกร ชัยสกุลดี / 064-626-1962
ID LINE : 0646261962
การชำระเงิน : โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสำโรง
ชื่อบัญชี : ภาสกร ชัยสกุลดี
เลขที่บัญชี : 063-1-32181-6 ออมทรัพย์

ประวัติความเป็นมา : จังหวัดชัยนาท เป็นจังหวัดเก่าแก่ซึ่งมีความสำคัญในพงศาวดารและประวัติศาสตร์ชาติไทย มีการตั้งชุมชนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเฉพาะในบริเวณเมืองสรรค์ ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัด จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเขตยุทธศาสตร์สำคัญที่จะสามารถตั้งรับข้าศึกและได้รับชัยชนะทุกครั้ง สมดังชื่อเมือง \\\\\\\\\\\\\\\"ชัยนาท\\\\\\\\\\\\\\\" นอกจากความสำคัญทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังนับเป็นจังหวัดที่มีวัด พระเครื่อง พระบูชา รวมถึงโบราณวัตถุที่น่าสนใจศึกษามากมาย อาทิ วัดธรรมามูลฯ ที่ประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปเก่าแก่ที่เป็นที่เคารพศรัทธา วัดบรมธาตุ ฯลฯ โดยเฉพาะ สรรค์บุรี อำเภอเดียวของเมืองชัยนาท ที่ได้ชื่อว่า “เมืองพระ” มีวัดต่างๆไม่ต่ำกว่า 180 วัด อาทิ วัดมหาธาตุ วัดท้ายย่าน ฯลฯ ที่มีการขุดพบพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ รวมทั้งพระพุทธรูปอีกจำนวนหนึ่งที่มีพุทธศิลป์งดงามยิ่ง จึงนับได้ว่า เมืองสรรค์ หรือ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นศูนย์รวมของพระเครื่องอันยิ่งใหญ่ในอดีตกาล จนมีชื่อเสียงโด่งดังมานานปี สมกับที่เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในสมัยโบราณ ที่ได้ก่อเกิดชายชาตินักรบผู้กล้าหาญอย่างแท้จริง

สำหรับพระกรุเก่ายอดนิยมของจังหวัดชัยนาท คือ พระกรุเมืองสรรค์มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยแบ่งแยกตามลักษณะสำคัญที่แตกต่างกันได้ 2 ประการ คือ พิมพ์พระประทับยืน เรียกว่า \\\\\\\\\\\\\\\"พระสรรค์ยืน” อีกพิมพ์พระประทับนั่ง เรียกว่า “พระสรรค์นั่ง\\\\\\\\\\\\\\\"

ในที่นี้จะกล่าวถึง พระสรรค์นั่ง พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย มีด้วยกันหลายพิมพ์ คือ พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ไหล่ยกกลาง พิมพ์ไหล่ยกเล็ก พิมพ์ไหล่ตรง พิมพ์แขนอ่อนซุ้มไข่ปลา พิมพ์ไหล่ตรงข้างเม็ด พิมพ์ที่เรียกว่าเป็นพิมพ์นิยมคือ พิมพ์ไหล่ยก ส่วนกรุที่ได้นับความนิยมสูงสุดคือ กรุวัดท้ายย่าน ซึ่งเป็นพระเนื้อดินที่มีเนื้อละเอียด และกรุวัดบรมธาตุ ที่เนื้อดินหยาบกว่าเล็กน้อย

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก โดยเรียกตามลักษณะสำคัญที่องค์พระ คือ ส่วนที่เป็นพระอังสะ (ไหล่) ข้างซ้ายขององค์พระจะยกสูงขึ้นกว่าระดับปกติ และพระอังสะ (ไหล่) ขาดตอนจากพระกร (แขน) ข้างซ้ายขององค์พระ นักพระเครื่องอาวุโสจึงนำเอาลักษณะตรงนี้มาตั้งเป็นชื่อ เรียกพิมพ์ว่า พระสรรค์นั่งไหล่ยก หรือ ไหล่ขาด ว่ากันโดยลักษณะอันเป็นจุดเด่นๆ ของ พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก หรือ ไหล่ขาด นอกเหนือจากเอกลักษณ์ของพิมพ์ดังกล่าวแล้ว ก็มีจุดน่าสนใจคือ องค์พระพักตร์ (หน้า) ที่ทำเป็นตุ่มนูน คางแหลม และต่อลงมาเป็นลำพระศอ (ลำคอ) จะไม่ปรากฏรายละเอียดในวงพระพักตร์ (หน้า) ให้เห็นเลย และถ้าเผอิญไปเจอะเอาพระสรรค์นั่งพิมพ์นี้มีหูมีตาละก็ โปรดวินิจฉัยได้เลยว่าเป็น พระเสริมสวย ที่เรียกกันว่า เมคอัพ เพราะของเดิมท่านไม่มี

ส่วนที่แสดงเป็นลำพระองค์ด้านบนคือ บริเวณพระอังสะ (ไหล่) ทั้งสองข้างเกือบจะแนบราบ และในส่วนที่ต่ำลงมาจะค่อยๆ นูนสูงขึ้นจนถึงพระอุทร (ท้อง) จะนูนสูงสุด ดูพระพิมพ์นี้จะเห็นว่าท่านจะนั่งพุงพลุ้ยหรือพุงป่อง หรือจะเรียกท่านว่านั่งลงพุงก็ว่าได้ และถ้าพิจารณาในส่วนรวมๆ ท่านจะเห็นได้ว่า พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก หรือไหล่ขาด ทั้ง 4 พิมพ์นี้ มีรูปลักษณะเฉพาะองค์พระเหมือนกันทั้ง 4 พิมพ์ แต่ถ้าได้แยกแยะในรายละเอียดจะเห็นได้ว่ามีข้อแตกต่างกันเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ฐานอาสนะมีทั้งที่ทำเป็นบัวฟันหนู มีเส้นแซมชั้นเดียวและสองชั้นก็มี จนกระทั่งทำเป็นฐานเขียงสองชั้น ไม่ทำเป็นบัวก็มี ตลอดจนส่วนตกแต่ง ตามขอบพื้นผนังด้านหลังด้วยแล้ว

ในบางองค์ทำวิจิตรพิสดาร ดูประหนึ่งประทับนั่งอยู่ภายในซุ้มโพธิ์ แบบ พระรอด แต่บางองค์ทำเป็นลายกนก และทำเป็นเม็ดไข่ปลา และยกขอบเป็นเส้นซุ้มแนบ เส้นลวดก็มี ล้วนแต่มีข้อแตกต่างในส่วนละเอียดหรือส่วนที่ตกแต่งอื่นๆ ต่างกันไปและยังมีมากกว่านี้

แต่ถ้าได้พิจารณาในส่วนประธานคือ องค์พระเป็นอย่างเดียวกันทั้งสิ้น อันนี้แสดงว่านายช่างผู้แกะแม่พิมพ์ พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก หรือไหล่ขาด เป็นคนคนเดียวกัน หรือสกุลช่างอย่างเดียวกัน แต่มีแม่พิมพ์หลายแบบหลายพิมพ์จึงมีข้อแตกต่างในส่วนละเอียดกันดังกล่าวแล้ว ตลอดจนขนาดก็มีเล็กใหญ่ลดหลั่นกันลงไป เอาเป็นข้อยุติไม่ค่อยจะได้ เท่าที่พบขนาดใหญ่จะสูงไม่เกินสองนิ้วเป็นอย่างมาก และเล็กสุดประมาณเท่าปลายนิ้วก้อย หรือสูงไม่ถึงหนึ่งนิ้ว หรือจะเรียกว่าเป็นพิมพ์เล็กจิ๋ว ก็มีเหมือนกัน แต่ทว่าหาได้ยากมาก

เนื้อ : พระพิมพ์เมืองสรรค์ พิมพ์ไหล่ยก หรือไหล่ขาดนี้ เท่าที่พบเห็นส่วนมากเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผา ซึ่งมีส่วนผสมของว่านและเกสร มีทั้งชนิดดินละเอียดและหยาบ อย่างชนิดเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว สัมฤทธิ์และเนื้อว่านแท้ๆ 100 เปอร์เซ็นต์ก็มี แต่จำนวนน้อยกว่าเนื้อดิน

สี : เกรนสีของพระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก หรือไหล่ขาด ถ้าเป็นชนิดเนื้อดินจะมีสีเหลือง สีพิกุล จนกระทั่งเข้มแบบสีเม็ดมะขาม สรุปแล้วมีแทบจะทุกเกรนสี จากอ่อนไปถึงแก่

กรุที่ขุดพบพระ คือ บริเวณวัดหรือโคกวัดเก่าๆ และตามพระเจดีย์ทั่วไปในบริเวณเมืองสรรค์เก่า ทั้งสองฝั่งแม่น้ำด้านตะวันออกและตะวันตกที่แล่นผ่าเมืองสรรค์ รวบรวมรายชื่อวัดที่ขุดได้พระเมืองสรรค์ทั้งพิมพ์นั่งและพิมพ์ยืน คือในท้องที่ ต.เที่ยงแท้ เมืองสรรค์บุรี อันประกอบด้วย 1.วัดท้ายย่าน 2.วัดพระนอน 3.วัดขนุน 4.วัดมเหยงค์ 5.วัดวิหารทอง 6.วัดตะเซา 7.วัดน้อย 8.วัดโคกอุดม 9.วัดยอ 10.วัดพระนาค 11.วัดสระเจดีย์ 12.วัดนก (สกุณาราม) และในท้องที่ ต.แพรกศรีราชา เมืองสรรค์บุรี อันได้แก่ 13.วัดมหาธาตุ 14.วัดแจ้ง 15.วัดเรไร 16.วัดไตรตรึงค์ 17.วัดนางขือ 18.วัดนางคำ 19.วัดท่าวน 20.วัดกลาง ต.โพธิ์งาม 21.วัดท่าสมอ 22.วัดรัก 23.วัดยาง ในท้องที่ ต.บางขุด 24.วัดดงบ้านดาบ ต.ดงดอน 25.วัดกรุณา ต.โพธิ์งาม ฯลฯ

ขอบคุณบทความจาก คม-ชัด-ลึก
ชื่อร้านค้า : อาณาจักรพระแท้
ชื่อเจ้าของร้าน : ภาสกร ชัยสกุลดี    |  อาณาจักรพระแท้
สถานะ :
เบอร์ติดต่อ : 0944952589
E-mail : poonsub8181@hotmail.com
เปิดให้เช่าวันที่ : 23 ต.ค. 58
อัพเดทวันที่ : อาทิตย์ - 20 ก.ย. 2563 - 18:32:17

รายละเอียดเพิ่มเติม