สมัครสมาชิกใหม่ สมัครแล้ว ยัง log in ไม่ได้ ภายใน 3 วัน / สมาชิกเก่า ลืม รหัส เข้า / เคยสมัครแล้ว ยังไม่ได้ log in / ติดต่อ พระภูธร ได้เลยครับ ///// หากท่านส่งหลักฐาน ตอนสมัคร ไม่ได้ ให้ติ๊กตรง ส่งมาทางไลน์ แล้ว add line พระภูธร ส่งหลักฐานมาทาง ไลน์ ได้เลยนะ ครับ
ท่านกำลังชมกระดานประมูล
เครื่องรางของขลัง
พระแท้ : | ผู้โหวต | 0 | ท่าน | |
พระแท้ข้อมูลไม่ถูกต้อง : | ผู้โหวต | 0 | ท่าน | |
พระไม่แท้ : | ผู้โหวต | 0 | ท่าน |
จำนวนทั้งหมด 0 โหวต
ชื่อพระเครื่อง : | พระขรรค์ พิชิตรมาร หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง จ.บุรีรัมย์ |
รายละเอียดพระเครื่อง : | ประวัติ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม วัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ พระดีที่ควรกราบไหว้รูปหนึ่งในเวลานี้คือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต).... พระดีที่ควรกราบไหว้รูปหนึ่งในเวลานี้คือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) ซึ่งพุทธศาสนิกชนรู้จักกันในนาม หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง ท่านเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร และพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์ หลวงปู่เหลืองมีนามเดิมว่า เหลือง ทรงแก้ว ท่านเกิดในยามใกล้รุ่งของวันอังคารที่ 1 พ.ค. ปี พ.ศ. 2470 ที่บ้านนาตรัง หมู่ที่ 2 ต.เขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นบุตรคนที่ 6 ในครอบครัวของนายเที่ยง ทรงแก้ว และนางเบียน ทองเชิด หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขณะอายุได้ 15 ปี แล้วออกจาริกเดินตามหลังพระพี่ชายไปตอนอายุ 16 ปี หลังจากนั้นชีวิตของหลวงปู่เหลืองก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด.ช.เหลือง ออกจากบ้านเดินตาม พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล และพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ 2 ภิกษุศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “มือขวา” ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปใน พ.ศ. 2486 จากสุรินทร์ไปถึงนครราชสีมา ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ด้วยอายุเพียงเท่านั้นแต่ท่านมีบุญได้พบครูบาอาจารย์แล้วหลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระผู้สรุปอริยสัจ 4 จากการปฏิบัติไว้ชนิดคนสามัญขนานนามท่านว่า เจ้าแห่งจิต ท่านพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดป่าคลองกุ้ง ฯลฯ รวมทั้งได้มอบกายถวายใจเป็นศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเล่าถึงวันคืนในอดีตครั้งไปกราบท่านพ่อลีที่วัดป่าคลองกุ้งว่า “ตอนนั้นวัดป่าคลองกุ้งยังเป็นป่าอยู่ ต้นไม้ใหญ่ๆ มีศาลทำบุญไม้หนึ่งหลังและกุฏิกรรมฐานเล็กๆ ตั้งอยู่ตามโคนต้นไม้ เงียบสงัด พระฉันแล้วก็เข้ากรรมฐานหมด ไม่เพ่นพ่านรุ่งเรืองเหมือนสมัยนี้ ไปพักอยู่กับท่าน 1 เดือน ...บอกกับท่านว่าจะขอธุดงค์ต่อไปทางบ่อไพลิน เข้าสู่แดนเขมร ท่านพ่อลีก็ห้าม ตอนนั้นปลายสงครามโลก เหตุการณ์ยังไม่ปกติ เกรงจะเป็นอันตราย แต่พระอาจารย์ฉัตรพี่ชายก็จะขอไปให้ได้ก็ต้องยอมผ่อนผันให้ไป ท่านพ่อลีเมตตาอาตมามากเพราะยังเป็นเด็ก กลัวจะลำบาก ท่านเลยบอกว่า จะให้คาถากันตัว สั่งให้ท่องไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวเสือช้างอะไรทั้งสิ้น คาถาของท่านยังจำได้จนถึงบัดนี้ว่า นะบัง โมบัง พุทโธบังหน้า ธัมโมบังหลัง” สภาพบ้านเมืองในเวลานั้นช่างต่างจากเวลานี้นัก ท่านว่าใช้เวลาเดิน 3 คืนบุกป่าฝ่าดงจากจันทบุรีถึงทะลุถึงบ่อไพลิน ตามรายทางนั้น “เห็นพลอยเกลื่อนกลาด แต่ไม่ได้เก็บเพราะอาจารย์ฉัตรท่านว่า เรามาธุดงค์แสวงบุญไม่ได้มาหาเพชรพลอย” การธุดงค์จบลงด้วยการย้อนกลับมาที่ วัดป่าศรัทธารวม จ.นครราชสีมา ณ พ.ศ.นั้น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร กำลังเป็นสดมภ์หลักในการบุกเบิกขยายวงพระกรรมฐานโดยใช้ จ.นครราชสีมา เป็นฐาน โดยท่านเองรับเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อยู่ถึง 12 ปีคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2487 ช่วงเวลานั้น วัดป่าศรัทธารวมซึ่งเป็นป่าช้าเก่าเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานจำนวนมากไม่ว่า พระมหาปิ่น ปัญญาพโล หลวงปู่เทกส์ เทสรังสี หลวงปู่ภุมมี ฐิตธัมโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ฯลฯ หลวงปู่เหลืองเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น ขณะอายุ 17 ปี หรือราวช่วง พ.ศ. 2486-2487 โดยบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา มีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) หรือเจ้าคุณโพธิฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ลุถึง พ.ศ. 2490 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดป่าศรัทธารวมนั่นเอง “ไทยดำ” ผู้เคยเขียนประวัติหลวงปู่เหลืองลงในนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับเดือน ธ.ค. 2530 เคยเรียนถามท่านว่า ระหว่างอยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้นหลวงปู่ฝั้นสอนอย่างไรบ้าง หลวงปู่เหลืองตอบทีเดียวเป็นความ 4 ประโยค แต่ครอบคลุมพระไตรปิฎกหมด 90 เล่ม ความนั้นมีว่า ท่านสอนง่ายๆ ว่า “ประสูติ หมายถึง ลมเข้า พระวินัย หมายถึง ลมออก ปรมัตถ์ หมายถึง ผู้รู้ลมเข้าลมออก เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นแต่กิ่งก้าน” การได้อยู่ที่ จ.นครราชสีมา ณ พ.ศ.นั้นเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ได้พบและศึกษากับพ่อแม่ครูอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งท่านเหล่านั้นกระจายกันอยู่หลายแห่ง อาทิ วัดป่าสาลวัน วัดสุทธจินดา วัดสว่างอารมณ์ ฯลฯ แต่รูปที่อัธยาศัยต้องกันมากที่สุดและจะมีผลต่อชีวิตของท่านในกาลข้างหน้าคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เวลานั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายธรรมยุต ท่าน|ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังสติปัญญาจนทำให้การของคณะสงฆ์เป็นปึกแผ่น แต่ยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ก็เหนี่ยวรั้งท่านให้ห่างหายจากการปฏิบัติได้ไม่ กลับเตือนตนอยู่ตลอดเวลาว่า “การคลุกคลีกับหมู่คณะมากเกินไปทำให้เป็นผู้ประมาท...” เพราะตระหนักเช่นนั้นจึงมักจะปลีกตัวออกวิเวกเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ ก่อนจะตัดสินใจทิ้งพัดยศออกปฏิบัติอย่างเดียวใน พ.ศ. 2498 นั้น ครั้งหนึ่งท่านชวนหลวงปู่เหลือง ซึ่งยังเป็นพระหนุ่มอยู่ในขณะนั้นออกไปปฏิบัติอยู่ในป่า จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน ท่านทั้งสองอยู่ด้วยกันสองคนหนึ่งพรรษา จากนั้นพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็ต้องกลับมารรับภาระทางการคณะสงฆ์ต่อ ขณะที่หลวงปู่เหลืองได้พำนักและภาวนาอยู่ในสำนักสงฆ์กลางป่า อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ต่อเนื่องไปอีกถึง 7 ปี ต่อมาป่าแห่งนั้นได้รับการพัฒนากลายเป็น วัดป่ารังสีปาลิวัน ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) จนท่านละสังขาร เมื่อ พ.ศ. 2543 ตลอดเวลาที่อยู่นั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็จะแวะเวียนมาภาวนาอยู่ ณ สำนักสงฆ์แห่งนั้นและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ให้ชาวบ้านได้อาศัยแหล่งน้ำ ฯลฯ มาตลอด โดยมีหลวงปู่เหลืองเป็นผู้ช่วย แม้แต่เมื่อตัดสินใจออกจาริกอีกครั้งหลังอยู่ที่นั่นมาแล้ว 7 ปีก็เป็นการออกจาริกโดยมีพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นผู้นำ ท่านทั้งสองจาริกในถิ่นต่างๆ มีประสบการณ์ในภาวนาอันพิสดารหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะที่ถ้ำขันตี ซึ่งอยู่ในเทือกเขาภูพาน ท่านว่า การภาวนา ณ สถานที่แห่งนั้นทำให้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ขณะเดียวกันท่านทั้งสองก็ผ่านเป็นผ่านตายมาพร้อมกันด้วย กล่าวคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นไข้ป่าเกือบจะเสียชีวิต ก็ได้หลวงปู่เหลืองดูแล พอหลวงปู่เหลืองเองล้มเจ็บเพราะไข้ป่าก็ได้ “เจ้าคุณอาจารย์” เป็นคนรักษา ท่านกล่าวถึงความทุกข์ยากในเวลานั้นว่า “แต่ก่อนที่อาตมาจะเป็นไข้นั้น ท่านเจ้าคุณเป็นมาก่อน เมื่อสองอาทิตย์ก่อน เรียกว่าเป็นมากทีเดียว จนเพ้อ ยาก็ไม่มีรักษา ท่านมีสติสั่งว่า ถ้าท่านตายก็ให้เผาที่นี่ แล้วกวาดขี้เถ้าทิ้งลงเขาไป อย่าเอาไปลำบากเพราะไม่ใช่ตัวตนอะไรของเรา อีกอย่างหนึ่งแม้ท่านจะลาออกจากตำแหน่งแล้วแต่พัดยศอยู่ที่กุฏิ ยังไม่ได้ส่งคืน ขอให้จัดการเอาไปคืนด้วยซึ่งทำให้ประทับใจในตัวท่านมาก ท่านไม่เคยแสดงความพรั่นพรึงต่อการมรณะเลย เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันต้องตาย...ถึงตาอาตมาบ้าง...ท่านเจ้าคุณก็ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เราฝากผีฝากไข้กันมาอย่างนี้” เพราะฝากผีฝากไข้ ผ่านเป็นผ่านตายร่วมกันมา จึงไม่แปลกที่ต่อมาเมื่อ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อาพาธ เนื่องจาก|เส้นเลือดฝอยในสมองแตกในปี 2527 ทำให้อวัยวะเบื้องขวาเป็นอัมพาต ใครนิมนต์ไปปฏิบัติอุปัฏฐากที่ไหนท่านก็ไม่ไป แต่เมื่อหลวงปู่เหลืองนิมนต์ ท่านรับ ทุกวันนี้หลวงปู่เหลือง รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าเข้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) ภาระนี้เกิดมาต่อเนื่องตั้งแต่กึ่งศตวรรษก่อนโน้นเพราะปี พ.ศ. 2499 ท่านเป็นเป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระอริยเวที พร้อมกับเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน ปี พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง และเป็นเจ้าคณะตำบล วัดแห่งนี้เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์สมุห์เสร็จ พี่ชายเป็นคนบุกเบิกสร้างไว้ เมื่อท่านออกวิเวกเสียชีวิตเพราะไข้ป่า พระสมุห์ฉัตร พี่ชายคนรองก็เป็นคนมาดูแลแทน ปี พ.ศ. 2519 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง พ.ศ. 2523 เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) หลวงปู่เหลืองกล่าวว่า พระพุทธองค์มิได้สอนให้เชื่อพระองค์เพียงอย่างเดียว หากแต่ให้ชื่อว่า “จิต คือ พุทธะ” ถ้าเราดำเนินตามที่พระองค์ทรงสอน จิตของเราก็เป็นพุทธะอย่างพระพุทธองค์ได้ ถ้าจะให้ถึงซึ่งพุทธะก็เหมือนกับเอาแก่ของต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะเอาแก่นต้องใช้ขวานถากเปลือก ถากกระพี้ออก จิตคนเรานั้นเป็นพุทธะอยู่แล้ว หากแต่เราปล่อยให้กิเลสตัณหาห่อหุ้มจนจิตไม่ประภัสสร “จิตประภัสสรก็หมายถึงจิตเดิม ซึ่งเปรียบเสมือนเพชร ลักษณะแวววาวสุกใสอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ที่มันเศร้าหมองจนเรามองไม่เห็นความประภัสสรของมัน เพราะมีสิ่งอื่นมาห่อหุ้ม ทำให้รัศมีเปล่งออกมาไม่ได้ อย่างไฟฉายของเรา พอเปิดสวิตช์ขึ้น มันก็สว่างเป็นลำพุ่งออกไปพอปิดสวิตช์มันก็มืด ไม่เห็นดวงไฟ ทั้งที่ความจริงจิตมันประภัสสรอยู่แล้วแต่คนเราทุกวันนี้ ก็เอากิเลส ความโกรธ ความหลงที่เปรียบเหมือนดินทรายเขม่าไฟต่างๆ ไปห่อหุ้มปิดบังมันเสียเอง มันเลยมืดบอดอยู่อย่างนั้น...เราอยากจะเห็นตามพระองค์บ้างก็ต้องลงทุนลงแรงเอาสิ่งที่หุ้มห่อออก แล้วจึงจัดสีให้มันเปล่งแสงประภัสสรขึ้น เอาอะไรมาขัดสีล่ะ ก็เอาสมาธินั่นแหละมาขัดสี...” “สิ่งต่างๆ ในโลกนี้มันก็อยู่ที่จิตนี้เอง ความรู้สึกของเราอยู่ที่ไหน จิตใจก็อยู่ที่นั้น หลวงปู่มั่นท่านก็เคยพูดว่า อยู่ที่ใจของเจ้า โลกนี้ไม่มีใจก็ไม่มีความหมาย โลกกับธรรมมันอิงกันอยู่ ก็อยู่อย่างไม่ขัดโลกขัดธรรมเขา รูปนาม ถ้าแยกออกก็เป็นอภิธรรมทั้งหมด รูปกับนามเป็นจุดแรกของปัญหา เรื่องราวต่างๆ ที่เราไม่รู้ก็เพราะไม่ได้ค้นคว้ากำหนด ท่านว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนตั้งแต่จุดเล็กไปถึงจุดใหญ่ เหมือนกับความมืดกับความแจ้ง มันต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่คนละช่วง มันเกิดพร้อมกันไม่ได้ ความจริงรูปนามมันมีอยู่แล้ว ถ้าปลงความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มี ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด เมื่อไม่มีอะไรจะพูดมันก็หยุดเป็นวิมุตติไป ถ้าเอามาพูดถึงมันก็เป็นสมมติไป ธรรมะจริงๆ จะพูดหรือไม่พูดมันมีอยู่แล้ว...” หลวงปู่เหลือง เป็นพระมหาเถระที่ควรแก่การอัญชลี ท่านเจริญรอยตามครูบาอาจารย์ของท่านคือ แน่วแน่กับการปฏิบัติภาวนาไม่เสื่อมคลาย อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย แทบไม่มีใครจำสมณศักดิ์ของท่านได้เรียกกันแต่ว่า หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง |
ราคาเปิดประมูล : | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน : | 100 บาท |
เคาะครั้งละ : | 50 บาท |
เปิดประมูลวันที่ : | เสาร์ - 3 ต.ค. 2558 - 09:21:40 |
ปิดประมูลวันที่ : | จันทร์ - 12 ต.ค. 2558 - 09:21:40
|
ข้อมูลผู้ตั้งประมูล : |
นำทรัพย์
|
รายละเอียดเพิ่มเติม
สมาชิกพระภูธร
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อร่วมประมูล
เข้าสู่ระบบ
เสนอราคาพระองค์นี้
ราคาล่าสุด : | 100 บาท |
เคาะครั้งละ : | 50 บาท |
ปิดประมูลแล้ว!! |
|
ไม่มีผู้ชนะประมูล! | |
ไม่ถึงราคาขั้นต่ำที่ตั้งไว้ |